สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

       

        ใบหน้าของคนทั่วไปจะสามารถแบ่งส่วนออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ จากบนลงล่างคือ ส่วนบนสุด ได้แก่ กระโหลกและหน้าผาก

ส่วนกลาง คือ ส่วนกรามบนจมูกและเบ้าตารวมทั้งโหนกแก้ม ส่วนล่างสุด คือ ส่วนกระดูกกราม

          การมีสัดส่วนของใบหน้าที่ใหญ่เกินเหมาะสมย่อมจะทำให้รูปร่างของใบหน้าดูไม่งามได้ ในผู้หญิงทั่วไปนิยมรูปใบหน้าที่เรียว

ยาวมากกว่าใบหน้ากว้าง กลมหรือเหลี่ยม ดังเช่น  ในผู้ชาย การแก้ไขสัดส่วนของใบหน้าในส่วนต่าง ๆ สามารถทำให้โครงสร้างของใบหน้าเปลี่ยน

แปลงได้ ในคนไทยและเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับใบหน้า ส่วนกลางและส่วนล่าง คือ มีความโหนกของกระดูก

โหนกแก้ม และกราม ทำให้ได้รูปทรงใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม การตัดแต่งกระดูกในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นที่ต้องการของผู้ที่อยาก

จะได้รูปหน้าที่เรียวขึ้น

          ในปัจจุบัน นี้ความก้าวหน้าทางการผ่าตัดกระดูกใบหน้าและศีรษะได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การผ่าตัดแก้ไขโครงสร้าง

ของใบหน้าสามารถทำได้มากยิ่งขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่นเดียวกับการแก้ไขกรามเพื่อความสวยงามก็เป็นที่นิยมมากขึ้น

เช่น เดียวกัน

การตัดกรามนั้นจำเป็นต้องทำร่วมกับการดมยาสลบ เนื่องจากจะต้องมีการใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเลื่อยอันเล็ก ๆ สอดเข้าไปตัดที่มุมกราม

         1. การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะเปิดแผลจากภายนอกบริเวณใกล้ ๆ กับมุมกรามแล้วค่อย ๆ

เลาะผ่านกล้ามเนื้อและหลบเส้นประสาทสำคัญเส้นหนึ่งที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก หลังจากนั้นจึงตัดแยกกล้ามเนื้อมุมกรามออก

เข้าหากระดูกมุมกราม เมื่อสามารถเปิดกระดูกมุมกรามส่วนที่ต้องการจะตัดได้เรียบร้อยแล้วจึงใช้เลื่อยตัดกระดูกตามแนวที่ต้องการ

แล้วเอาชิ้นกระดูกที่เกินนั้นออกไป ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อยแล้วจึงทำการเย็บแผลปิด วิธีนี้แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่าย

เนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษมากนักและไม่ต้องผ่านช่องปากเข้าไปหากระดูก อาการบวมจึงมักจะน้อยกว่า แต่วิธีนี้มี

โอกาสที่แพทย์อาจจะกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมุมกรามได้ แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็สามารถทำให้เกิดการเอียง

หรือเบี้ยวของมุมปากได้ในระยะแรก และสิ่งสำคัญคือแผลผ่าตัดที่มุมกรามนั้น  บางรายอาจจะสามารถเห็นและสังเกตได้  และ

บางรายก็เกิดอาการแผลปูดนูนตามมาในระยะหลังได้ ซึ่งจะต้องทำการรักษาต่อไป


          2. การผ่าตัดจากภายในช่องปาก วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่งยากมากกว่า  และจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษกว่า

การตัดจากภายนอก แพทย์จะทำการเปิดแผลที่ในช่องปากตรงบริเวณหลังฟันกรามซี่สุดท้าย ในแนวดิ่ง แล้วค่อย ๆ เลาะแยกเนื้อ

เยื่อบริเวณดังกล่าวรวมทั้งกล้ามเนื้อที่คลุมมุมกรามออก  หลังจากนั้นจึงเลาะเยื่อหุ้มกระดูกออกให้กว้างเพียงพอที่จะสอดใส่เครื่อง

มือเข้าไปที่มุมกราม เพื่อจะให้เห็นมุมกรามและกรามส่วนหลังได้ชัดเจน หลังจากนั้นจึงใช้เลื่อยที่มีรูปร่างเป็นเลื่อยมุมฉากเข้าไปทำ

การตัดตามแนวที่ต้องการ เลื่อย

ชนิดนี้จะมีความยาวเพียงพอที่จะทำให้การตัดในแนวตั้งฉากสามารถทำได้  หลังจากนั้นแพทย์จึงนำชิ้นกระดูกที่ถูกตัดขาดออก

มาพร้อมกับการตกแต่งกระดูกส่วนที่เหลือให้กลมมนตามปกติ  แล้วจึงเย็บแผลปิดตามเดิม ปัญหาของการตัดด้วยวิธีนี้นั้นส่วน

มากมักจะเป็นเรื่องเทคนิค

           การผ่าตัดซึ่งมักจะต้องอาศัยประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด รวมทั้งต้องการเครื่องมื่อที่เหมาะสม

ด้วยจึงจะทำให้การผ่าตัดได้ผลดีและกระดูกที่ตัดออกมานั้นมีขนาดที่พอเหมาะ การผ่าตัดจากภายในปากนี้มีการดึงรั้งกล้ามเนื้อ

และเยื่อบุปากมากกว่าจึงมีอาการบวมค่อนข้างจะมากกว่าการตัดจากภายนอกปากแต่ไม่มีแผลเป็นให้เห็นจากภายนอกและ

การกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทก็มักจะไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ


การดูแลหลังการผ่าตัด

          หลังการผ่าตัดนั้นโดยมากมักจะมีอาการบวมไม่มากก็น้อย ผู้ป่วยมักจะปวดบริเวณที่ผ่าตัดบ้างพอสมควร แต่มักจะเข้า

ที่ทั้งหมดในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ส่วนอาการบวมที่มุมกรามมักจะมีอยู่ประมาณ 1-2 เดือนจึงจะเห็นรูปร่างกระดูกกรามใหม่

การฝึกการอ้าปากนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะแนะนำโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการผ่าตัดจากในช่องปาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการติดแข็งของ

พังผืดที่อยู่รอบกรามและใกล้ ๆ กับข้อของขากรรไกร ส่วนการอักเสบที่รุนแรงนั้นมักจะพบได้น้อยและไม่ค่อยมีปัญหากเรื่องดังกล่าว



view