สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

     

       ใบหน้าของคนทั่วไปจะสามารถแบ่งส่วนออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ จากบนลงล่างคือ ส่วนบนสุด ได้แก่กระโหลกและหน้าผาก

ส่วนกลาง คือ

ส่วนกรามบนจมูกและเบ้าตารวมทั้งโหนกแก้ม

ส่วนล่างสุด คือ ส่วนกระดูกกราม

        การมีสัดส่วนของใบหน้าที่ใหญ่เกินเหมาะสมย่อมจะทำให้รูปร่างของใบหน้าดูไม่งามได้ ในผู้หญิงทั่วไปนิยมรูปใบหน้าที่เรียว

ยาวมากกว่าใบหน้ากว้าง กลมหรือเหลี่ยม ดังเช่น ในผู้ชาย การแก้ไขสัดส่วนของใบหน้าในส่วนต่าง ๆ สามารถทำให้โครงสร้าง

ของใบหน้าเปลี่ยนแปลงได้ ในคนไทยและเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับใบหน้าส่วนกลางและส่วนล่าง คือ มี

ความโหนกของกระดูกโหนกแก้ม และกราม ทำให้ได้รูปทรงใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม การตัดแต่งกระดูกในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึง

เป็นความต้องการของผู้ที่อยากจะได้รูปหน้าที่เรียวขึ้น

     ในปัจจุบันนี้ ความก้าวหน้าทางการผ่าตัดกระดูกใบหน้าและศีรษะ ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้การผ่าตัดแก้ไขโครงสร้าง

ของใบหน้าสามารถทำได้มากยิ่งขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น เดียวกับการแก้ไขกรามเพื่อความสวยงามก็เป็นที่นิยมมาก

ขึ้น เช่นเดียวกัน การตัดกรามนั้นจำเป็นต้องทำร่วมกับการดมยาสลบ เนื่องจากจะต้องมีการใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเลื่อยอันเล็ก ๆ

สอดเข้าไปตัดที่มุมกราม


การผ่าตัดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

          1. การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก

        เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะเปิดแผลจากภายนอกบริเวณใกล้ ๆ กับมุมกรามแล้วค่อย ๆ เลาะผ่านกล้ามเนื้อและหลบเส้น

ประสาทสำคัญเส้นหนึ่งที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก หลังจากนั้น จึงตัดแยกกล้ามเนื้อมุมกรามออกเข้าหากระดูกมุมกราม

เมื่อสามารถเปิดกระดูกมุมกรามส่วนที่ต้องการจะตัดได้เรียบร้อยแล้วจึงใช้เลื่อยตัดกระดูกตามแนวที่ต้องการแล้วเอาชิ้น

กระดูกที่เกินนั้นออกไป ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อยแล้วจึงทำการเย็บแผลปิด

          วิธีนี้แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่าย เนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษมากนัก และไม่ต้องผ่านช่องปากเข้าไปหากระดูก

อาการบวมจึงมักจะน้อยกว่า แต่วิธีนี้มีโอกาสที่แพทย์อาจจะกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมุมกรามได้ แม้จะเป็นการ

ชั่วคราวแต่ก็สามารถทำให้เกิดการเอียงหรือเบี้ยวของมุมปากได้ในระยะแรก และสิ่งสำคัญ คือ แผลผ่าตัดที่มุมกรามนั้นบางราย

อาจจะสามารถเห็นและสังเกตได้ และบางรายก็เกิดอาการแผลปูดนูนตามมาในระยะหลังได้ ซึ่งจะต้องทำการรักษาต่อไป


        2. การผ่าตัดจากภายในช่องปาก วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่งยากมากกว่า และจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษกว่าการ

ตัดจากภายนอก แพทย์จะทำการเปิดแผลที่ในช่องปากตรงบริเวณหลังฟันกรามซี่สุดท้าย ในแนวดิ่ง แล้วค่อย ๆ เลาะแยกเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวรวมทั้งกล้ามเนื้อที่คลุมมุมกรามออก หลังจากนั้นจึงเลาะเยื่อหุ้มกระดูกออกให้กว้างเพียงพอที่จะสอดใส่เครื่องมือ

เข้าไปที่มุมกราม เพื่อจะให้เห็นมุมกรามและกรามส่วนหลังได้ชัดเจน หลังจากนั้นจึงใช้เลื่อยที่มีรูปร่างเป็นเลื่อยมุมฉากเข้าไปทำ

การตัดตามแนวที่ต้องการ เลื่อยชนิดนี้จะมีความยาวเพียงพอที่จะทำให้การตัดในแนวตั้งฉากสามารถทำได้ หลังจากนั้นแพทย์

จึงนำชิ้นกระดูกที่ถูกตัดขาดออกมาพร้อมกับการตกแต่งกระดูกส่วนที่เหลือให้กลมมนตามปกติ แล้วจึงเย็บแผลปิดตามเดิม ปัญหา

ของการตัดด้วยวิธีนี้นั้นส่วนมากมักจะเป็นเรื่องเทคนิกการผ่าตัดซึ่งมักจะต้องอาศัยประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการ

ผ่าตัด รวมทั้งต้องการเครื่องมื่อที่เหมาะสมด้วยจึงจะทำให้การผ่าตัดได้ผลดีและกระดูกที่ตัดออกมานั้นมีขนาดที่พอเหมาะ การ

ผ่าตัดจากภายในปากนี้มีการดึงรั้งกล้ามเนื้อและเยื่อบุปากมากกว่าจึงมีอาการบวมค่อนข้างจะมากกว่าการตัดจากภายนอกปาก

แต่ไม่มีแผลเป็นให้เห็นจากภายนอกและการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทก็มักจะไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ


การดูแลหลังการผ่าตัด

         หลังการผ่าตัดนั้นโดยมากมักจะมีอาการบวมไม่มากก็น้อย ผู้ป่วยมักจะปวดบริเวณที่ผ่าตัดบ้างพอสมควร แต่มักจะเข้าที่

ทั้งหมดในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ส่วนอาการบวมที่มุมกรามมักจะมีอยู่ประมาณ 1-2 เดือนจึงจะเห็นรูปร่างกระดูกกรามใหม่

การฝึกการอ้าปากนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะแนะนำโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการผ่าตัดจากในช่องปาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการติดแข็ง

ของพังผืดที่อยู่รอบกรามและใกล้ ๆ กับข้อของขากรรไกร ส่วนการอักเสบที่รุนแรงนั้นมักจะพบได้น้อยและไม่ค่อยมีปัญหากเรื่อง

ดังกล่าว

           โครงสร้างของใบหน้า เกิดจากส่วนประกอบของกระดูก, กล้ามเนื้อ, ไขมันและผิวหนัง การลดส่วนของใบหน้า ที่มีขนาด

ใหญ่หรือสูงกว่าปกติจะช่วยให้รูปหน้าดูสมสัดส่วนมากขึ้น โดยทั่วไปการตกแต่งรูปหน้า อาจทำโดยการดูดไขมัน, ฉีดไขมัน, กรอ

กระดูก หรือเสริมกระดูกขึ้นอยู่กับโครงสร้างหลักที่ต้องการลดหรือเพิ่มคืออะไร สามารถลดความสูงของกระดูกใบหน้า อาจทำ

 โดยการตัดกระดูกหรือการกรอกระดูก

กระดูกใบหน้าที่สามารถทำได้

      - โหนกคิ้ว

      - โหนกแก้ม

      - คาง

      - กระดูกกราม

 กรณีต้องการลดเพียงเล็กน้อย การกรอกระดูกเพื่อลดความสูงของกระดูกใบหน้าจะสามารถลดความสูงของกระดูกได้บางส่วน

เล็กน้อย ไม่ใช่ การลดความสูงในปริมาณมาก ๆ การลดปริมาณสูง อาจต้องใช้การตัดกระดูก

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

    1. งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่น แอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม

น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด สมุนไพรไทยบางชนิดมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด จึงควรงดอาหาร

    2. สมุนไพรบางชนิดเช่นอีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์

จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทาน

สมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน

    3. สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

    4. สระผมตอนเช้าก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

    5. ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้ปกติก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์

    6. เตรียมงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 1 – 2 อาทิตย์

    7. เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 7 – 10 วัน สำหรับการดึงหน้าทั้งหมด และ 5 – 7 วัน สำหรับการดึงหน้าบางส่วน

    8. ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด

    9. ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

    10. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด ต้องการยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยา aspirin ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนผ่าตัด

    11. ผู้ที่กินยา Coumadin เพื่อป้องกันภาวะการแข็งตัวของเส้นเลือดดำที่ขาหรือ ในผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปรึกษาแพทย์

ประจำตัวและหยุดยาก่อนมารับการผ่าตัด

    12. ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (Pacemaker) ไม่ควรทำการผ่าตัด

    13. เครื่องประดับที่เป็นโลหะควรถอดเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจาก ไม่สามารถใส่ระหว่างผ่าตัดได้


ขั้นตอนการผ่าตัด

    1. โดยทั่วไปทำโดยดมยาสลบ

    2. การกรอกระดูกโหนกคิ้ว ทำโดยกรอกระดูกผ่านแผลที่ลงไว้ที่หนังศรีษะ

    3. การกรอกระดูกโหนกแก้ม ทำโดยกรอผ่านแผลใต้ตา หรือในปาก

    4. การกรอคางการผ่าแผลใช้ริมฝีปากล่าง

    5. การกรอกระดูกกรามทำโดยเปิดแผลในปาก

    6. อาจมีการใส่ท่อระบายของเหลวภายใต้ผิวหนัง


การดูแลหลังการผ่าตัด

    1. โดยทั่วไปจะมีอาการบวม 7 – 14 วัน ควรประคบของเย็นหลังผ่าตัด

    2. นอนยกศีรษะสูง (หนุนหมอน 2 ใบ) เพื่อลดอาการบวม

    3. ผ้าตาข่ายที่พันบริเวณใบหน้านั้นปิดไว้เพียง 1 วัน เช้าวันรุ่งขึ้นให้ตัดหรือแกะออก จากนั้นสระผมได้โดยเกาอย่างเบามือ

เพื่อล้างคราบเลือดออก ซับแล้วเป่าผมให้แห้ง สามารถสระผมได้ทุกวันตามปกติ

    4. 7 วันหลังทำการผ่าตัด ให้มาคลายไหมที่ศีรษะเพื่อลดอาการตึงและสุขสบายขึ้น ถ้าลงแผลใต้ตาจะตัดไหม 5 วัน หลังผ่าตัด

    5. หลังจากคลายไหมแล้ว ใช้ “Vitamin E” ทานวดที่แผล (บริเวณกกหู, หลังหู, ท้ายทอย) เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูน

แข็งวันละ 2 ครั้ง ทุกๆ วัน

    6. 10 วันหลังทำการผ่าตัด ให้มาตัดไหมทั้งหมดออก (พร้อมทั้งพบแพทย์เพื่อตรวจแผล) ถ้าแผลตึงมาก อาจตัดไหม วันที่

14 หลังผ่าตัด

    7. รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นแดง, คัน, คลื่นไส้อาเจียน, แน่นหน้าอก ให้มาพบ

แพทย์ทันที

   8. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์, งดสูบบุหรี่ 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด 9. ถ้ามีอาการเลือดออกมากผิดปกติ หรือบวม

มากควรติดต่อแพทย์โดยทันที 10. แพทย์จะนัดมาตัดไหมประมาณ 5 – 7 วัน



view